วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน  2559


               วันนี้เป็นการนัดเรียนชดเชยวันหยุดที่ผ่านมา โดยเนื้อหาที่เรียนในวันนี้จะเป็นการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ซึ่งให้แต่ละกลุ่มนำไปทำในหน่วยของกลุ่มตนเองแล้วนำมาส่งในวันที่สอบปลายภาค

ความรู้ที่ได้
  • เด็กเกิดการเรียนรู้  คือ  สิ่งที่เราคาดหวังจะได้จากตัวเด็ก ( ผลของวัตุประสงค์ )
  • สาระที่ควรรู้   คือ  หน่วยผลไม้เป็นธรรมชาติรอบตัว
  • แนวคิด คือ มโนทัศน์  สังกัป  concept  เช่น     
                ผลไม้เป็นธรรมชาติรอบตัว >> เป็นพืช  >> พืชที่มีหลายชนิด >> แต่ละชนิดแตกต่างกัน
  • การเสริประสบการณ์  >> กิจกรรมศิลปะ  >> กิจกรรมเสรี
  • พัฒนาการ  เป็นเกณฑ์การประเมิน
          ด้านร่างกาย  :  อวัยวะการเคลื่อนไหว/ประสาทสัมพันธ์
          ด้านอารมณ์  :  การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
          ด้านสังคม  :  การมีปฏิสัมพันธ์/การทำงานร่วมกับผู้อื่น/มีคุณธรรมจริยธรรม 
                               * เด็กต้องรู้จักตนเองก่อนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
          ด้านสติปัญญา  :  1. ภาษา  >>  การฟัง  พูด  อ่าน  เขียน
                                      2. การคิด  >> การแก้ปัญหา/การสังเกต/การเปรียบเทียบ/การคิดสร้างสรรค์

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
  • ทักษะการวิเคราะห์
  • ทักษะการแก้ไขปัญหา
  • ทักษะการคิด
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

             การจัดกิจกรรมต้องให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดและเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาบูรณาการได้ในชีวิตประจำวัน  แผนการจัดประสบการณ์ต้องเขียนการสอนที่เป็นจริงเรียนรู้ได้จริง

เทคนิคการสอน

             อาจารย์อธิบายความหมายของแต่ละหัวข้อให้นักศึกษาเข้าใจเพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพและให้เด็กได้นำเสนอความคิดหรือความรู้ที่ตนเองมีเพื่อสอดแทรกลงไปในแผนการสอนซึ่งคนในกลุ่มช่วยกันระดมความคิด

การประเมินผล

ประเมินตนเอง :  กระตือรือร้นทำงานในหน้าที่ของตนเองให้เสร็จภายในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน  :  เพื่อนๆแต่ละกลุ่มมุ่งมั่นที่จะทำงานของตนเองให้เสร็จภายในชั่วโมง
ประเมินอาจารย์  :   อาจารย์ให้เวลานักศึกษาได้ปรึกษาหารือในกลุ่มของตนเองและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สอบถามเมื่อมีข้อสงสัย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธที่  20  เมษายน  2559


                  การเรียนการสอนของวันนี้มีแต่เสียงหัวเราะไม่ตึงเครียด  โดยการเรียนวันนี้เป็นการนำเสนอกิจกรรมแผนการจัดประสบการณ์ในหน่อยประโยชน์ ซึ่งอาจารย์ได้มอบหมายให้ทุกกลุ่มร่างนิทานของกลุ่มตนเองมานำเสนอในวันเปิดการเรียนหลังจากหยุด  แต่ละกลุ่มนำเสนอนิทานดังนี้

กลุ่มกล้วย   นิทานเรื่องกล้วยน้อยช่างคิด
                   มีเนื้อหาเกี่ยวกับประโยชน์ของกล้วยว่านำไปทำอะไรได้บ้าง เมื่อนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ได้ตั้งคำถามว่าเราสามารถนำมาบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์อย่างไรได้บ้าง และให้ทุกคนช่วยกันตอบ
โดยการบูรณาการสามารถทำได้ในเรื่องของรูปทรงเช่น  นำไปตองไปห่อขนมเทียนก็จะเป็นรูปสามเหลี่ยม ,  นำใบตองไปห่อข้าวต้มมัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นต้น

กลุ่มของเล่นของใช้    นิทานเรื่องหนูจินสอนเพื่อน
                    เนื้อหานิทานกล่าวถึงเด็กคนหนึ่งที่คุยกับเพื่อนๆผ่านการเล่านิทานด้วยคำกลอน สอดแทรกคณิตศาสตร์ด้วยการจับคู่สิ่งของต่างๆทั้งของเล่นของใช้และพูดสรุปในตอนจบถึงประโยชน์ของของเหล่านั้น

กลุ่มประโยชน์ผลไม้    นิทานเรื่องประโยชน์ของผลไม้
                    เนื้อหานิทานกล่าวถึงประโยชน์ของผลไม้ชนิดต่างๆซึ่งอ้างอิงข้อมูลมาจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ นำมาแต่งเป็นคำคล้องจองและสอดแทรกเรื่องสีเข้าไปเพื่อบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์  เมื่อนำเสนอจบอาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่าเราน่าจะบูรณาการอะไรที่สามารถเห็นได้ชัดเจนมากกว่านี้  ดิฉันเลยนำเสนอเรื่องของรูปทรงและเปลี่ยนจากคำคล้องจองสีเป็นรูปทรงแทน เช่น  สาลี่รูปทรงหลากหลาย บรรเทาหวัดไอมีใยอาหารสูง  นอกจากนี้อาจารย์ยังให้ไปทำหนังสือนิทานให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมเพื่อให้เด็กได้มองเห็นง่ายๆเมื่อนำไปสอน

กลุ่มยานพาหนะ     นิทานเรื่องหมีน้อยกับรถคู่ใจ
                    ในเนื้อหานิทานจะกล่าวถึงการดูแลรักษายานพาหนะ โดยบูรณาการกับคณิตศาสตร์ในเรื่องของทิศทาง จำนวน เวลา  ในการเดินทางจากบ้านไปหาคุณยาย

การนำเสนองานวิจัยของนางสาวยุคลธร  ศรียะลา

เรื่อง  การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย   คมขวัญ   อ่อนบึงพร้าว




การจัดกิจกรรมจะแบ่งออกเป็น  8  สัปดาห์   สัปดาห์ละ 3 เรื่อง

ตัวอย่างแผนการสอน



ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ
  • ทักษะการต่อยอดความรู้
  • ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
  • ทักษะการทำหนังสือนิทาน
  • ทักษะการเรียนรู้จากความรู้เดิม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                 การนำความรู้ของกลุ่มต่างๆไปต่อยอดและปรับใช้กับผลงานของตนเอง  การนำเสนองานให้มีความน่าสนใจและหลากหลายสามารถดึงดูดความสนใจและนำไปบูรณาการกับวิชาต่างๆได้มากกว่าวิชาคณิตศาสตร์ 

เทคนิคการสอน

                สำหรับอาทิตย์นี้อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ให้นักศึกษานำเสนอผลงานของตนเองให้จบแล้วจึงเสริมส่วนที่ขาดและให้คำแนะนำปรับปรุงซึ่งทำให้การเรียนมีความสนุกและไม่ตึงเครียดเหมือนครั้งที่ผ่านๆมา

การประเมินผล

ประเมินตนเอง  :   ใส่ใจในขณะที่อาจารย์กำลังแนะนะเพราะต้องนำไปปรับในนิทานของตนเอง
ประเมินเพื่อน   :   เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำหนังสือนิทาน มีคำแนะนำเพิ่มเติมช่วยกัน
ประเมินอาจารย์  :   อาจารย์ให้คำแนะนำที่เด็กสามารถเข้าใจง่ายจากสิ่งต่างๆรอบตัว

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธที่ 30 มีนาคม  2559
                หลังจากที่เพื่อนได้นำเสนองานวิจัยแต่ละกลุ่มก็ได้ออกมานำเสนอกิจกรรมแผนการจัดประสบการณ์ที่ได้คุยไว้เมื่ออาทิตย์ที่แล้วออกมาทดลองสอนกับเพื่อนๆในห้องเรียน   ตลอดเวลาที่เพื่อนๆดำเนินกิจกรรมอาจารย์ได้มีคำแนะนำและการปรับปรุงส่วนต่างๆของกิจกรรมให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับคณิตศาสตร์มากขึ้น  ซึ่งหน่วยที่เรียนมี

  • หน่วยยานพาหนะ   กิจกรรมประเภทของยานพาหนะ
  • หน่วยของเล่นของใช้    กิจกรรมประเภทของเล่นของใช้
  • หน่อยผลไม้   กิจกรรมชนิดของผลไม้
  • หน่วยกล้วย   กิจกรรมชนิดของผลไม้
การนำเสนองานวิจัยของนายอารักษ์   ศักดิกุล  
      การถึงงานวิจัยที่เปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ  โดยให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมด้วยตนเองอย่างอิสระและฝึกการจำแนก ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบเป็นต้น


ตัวอย่างแผนการสอนในงานวิจัย
ชื่อกิจกรรม  ขนมปงแผนแตงหนา  

จุดประสงค
1. เพื่อใหนักเรียนไดพัฒนาการใชกลามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธระหวางมือกับตา  
2. เพื่อใหนักเรียนไดฝกการรับรูประสาทสัมผัส  
3. เพื่อใหนักเรียนไดรูจักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู  
4. เพื่อใหนักเรียนไดฝกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู  
5. เพื่อใหนักเรียนไดสงเสริมการแสดงออก  
6. เพื่อใหนักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน 
กิจกรรมการเรียนรู  ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)

1. นักเรียนและครูสนทนารวมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอย เปนแผน  สีขาว  นิยมทานคูกับแยม    
2. นักเรียนและครูสนทนารวมกัน  ดังนี้          
           2.1 ขนมปงมีลักษณะอยางไร  มีสีอะไร          
           2.2 ขนมปงมีสีอะไร  รสชาติเปนอยางไร  มีใครเคยทานบาง          
           2.3 นักเรียนคิดวาขนมปงทํามาจากอะไร         
           2.4 นักเรียนคิดวาขนมปงมีประโยชนไหม  และมีประโยชนอยางไร  
ขั้นสอน   
1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณตามความสนใจของตนเอง   
2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปงแผนรูปทรงตางๆ แยมผลไม  เกล็ด ช็อกโกแลต มาโรยหนา ทา วาด เขียน เพื่อสรางชิ้นงานตามความคิดและจินตนาการของตนเอง   
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแลวใหนําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไวที่หนาชั้นเรียน   
4. เด็กชวยกันเก็บของ  ทําความสะอาดใหเรียบรอย
ขั้นสรุป   
1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนารวมกับครู  ดังนี้         
            1.1 นักเรียนใชขนมปงรูปทรงใดบางมาทํากิจกรรม         
            1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกันและอะไรที่ตางกัน  ตางกันอยางไร                   
            1.3 ขนมปงของนักเรียนมีอะไรซอนอยูขางใน  
            1.4 นักเรียนคิดวาระหวางแยมผลไมกับเกล็ดช็อกโกแลตและขนมปง ตางกันหรือเหมือนกันอยางไรบาง  

สื่อการเรียน  
1. ขนมปงแผนรูป  
2. แยมผลไมบรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมสม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอรรี่  แยมสัปปะรด 
3. เกล็ดช็อกโกแลต 
4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน  
5. ผาพลาสติกปูโตะ  
6. ถาดสําหรับใสขนม  
การประเมินผล  
1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา  
2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม   

คนที่สองนางสาวยุคลธร  ศรียะลา 
 งานวิจัยที่นำเสนอเป็นงานวิจัยในชั้นเรียนจึงต้องหาข้อมูลมานำเสนอใหม่ในสัปดาห์ถัดไป


ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการวิเคราะห์ 
  • ทักษะการคิดแบบเป็นกระบวนการ
  • ทักษะการสอนหรือการดำเนินกิจกรรม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมและทักษะการสอนต่างๆไปบูรณาการกับหน่วยของตนเองและนำไปปรับปรุงแนวทางการสอนของตนเองในการจัดกิจกรรมต่อไป

เทคนิคการสอน

อาจารย์ให้คำแนะนำทันทีเมื่อมีความผิดพลาดในการทำกิจกรรมและให้นักศึกษาได้จัดกิจกรรมโดยใช้สื่อจริงมาสอนให้เพื่อนๆในห้องได้ดูทำให้เข้าใจการจัดกิจกรรมมากขึ้น

การประเมินผล

ประเมินตนเอง  :  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆในห้อง
ประเมินเพื่อน  :   เพื่อนๆตั้งใจฟังคำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์
ประเมินอาจารย์   :   อาจารย์ให้คำแนะนำที่ละหัวข้อบางทีก็มีความสับสนบ้าง