วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธที่ 27 มกราคม 2559


ความรู้ที่ได้รับ

                  วันนี้เริ่มด้วยการแจกกระดาษแผ่นเล็กแล้วเขียนชื่อตนเองลงไป เมื่อเขียนเสร็จให้นำไปติดในตารางที่อาจารย์เขียนให้ ซึ่งตารางแบ่งออกเป็น 2 ช่อง ช่องแรกคือนักเรียนที่มา ช่องที่สองคือคนที่ไม่มา และล่างสุดจะเป็นช่องรวม  โดยช่องที่อาจารย์ได้เขียนไว้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการสอนคณิตศาสตร์ได้มากมาย  สามารถนำไปดัดแปลงให้มีความหลายหลากไม่ซ้ำของเดิมแล้วยังเพิ่มทักษะการคิดให้มีมากขึ้นได้อีกด้วย 
  • เมื่อเด็กนับจำนวนเด็กจะได้ทักษะการนับจำนวน ( การเพิ่มทีละ1 )
  • ใช้ลำดับเป็นตัวกระตุ้นการมาเรียนของเด็ก เพราะเราไม่สามารถไปบอกกับเด็กตรงๆได้ว่ามาสาย
  • การสร้างตารางการมาเรียนทำให้ได้เรียนรู้  การนับ,การแยกกลุ่ม/การรวมกลุ่ม ,จำนวน ,การบวกลบ
  • ใช้เลขฮินดูอารบิกกำกับจำนวน/การนับ/ลำดับที่มาก่อนหลัง
  • ทำให้เด็กมีพื้นฐานของการลบ ในจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่า
  • การตั้งชื่อกลุ่มทำให้เราได้คิดถึงวัตถุประสงค์ว่าเราตั้งเพื่ออะไร
  • การใช้ชื่อจริงจะมีประโยชน์กว่าการใช้ชื่อเล่น เพราะเด็กจะได้เรียนรู้ภาษาและการเขียนชื่อตัวเอง
คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

                           -  ตัวเลข  ขนาด  รูปร่าง  ที่ตั้ง  ค่าของเงิน  ความเร็ว  อุณหภูมิ
                           -  มาตรฐานการจัดในระบบเมตริก  
                                                1. คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
                                                2. ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
                                                3. การวัดเรื่องเวลา
                           -  การจัดประเภทการจับคู่และการตัดสินใจ
                           -  การคาดคะเนปริมาณ / การเปรียบเทียบ

สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป.1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิต
จำนวน 
  • การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
  • การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
  • การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
  • การเปรียบเทียบจำนวน
  • การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแยกกลุ่ม
  • ความหมายของการรวม
  • การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
  • ความหมายของการแยก
  • การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
สาระที่ 2  การวัด
มาตรฐาน  ค.ป.2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ  เงินและเวลา
-  เงิน ( ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร)
-  เวลา ( ช่วงเวลาในแต่ละวัน  ชื่อวันในสัปดาห์ )

สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2  รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต/เข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ

เพลงที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

สวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปลงฟันล้างหน้า         อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว         หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ       ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า  หลั่นลา  หลั่นหล่า  หลั่น  ลันลา  หลั่นลา  หลั่นล้า

สวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก    หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ       หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน      อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน    อาทิตย์  จันทร์  อังคาร  พุธ  พฤหัส  ศุกร์  เสาร์

เข้าแถว
เข้าแถว  เข้าแถว       อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน      เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน      เข้าแถวพลันว่องไว

จัดแถว
สองมือเราชูตรง     แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า    แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

ซ้าย - ขวา
ยืนให้ตัวตรงก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหละ

ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง     เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง  ลดลงเหลือสี่
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ  จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง  จะทำอย่างไรกันดี

ทักษะที่ได้รับ
  •  ทักษะการออกแบบตารางการมาเรียนของเด็ก
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล
  • ทักษะการใช้ประโยชน์จากคณิตศาสตร์
  • ทักษะการร้องเพลง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • การสร้างรูปแบบตารางให้เหมาะสมกับเด็ก สอดแทรกเนื้อหาคณิตศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้
  • นำการใช้ชีวิตประจำวันมาประยุกต์ใช้กับเรื่องเวลา เงิน ฯล
  • นำเพลงไปประยุกต์ใช้กับสาระการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์
เทคนิคการสอน
             อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ทำให้เข้าใจง่ายสอนทีละลำดับขั้นตอนให้มีความง่ายไปหายาก ทำให้เราได้คิดอย่างเป็นขั้นตอน มีการสอดแทรกคุณธรรมและตัวอย่างที่เห็นภาพจริง

การประเมินผล
ประเมินตนเอง :  ให้ความสนใจการเรียนมีการจดบันทึกย่อเนื้อหาที่สำคัญและร่วมตอบคำถามแสดง                                   ความคิดเห็น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความสนใจร่วมกับตอบคำถามและจดบันทึกความรู้ในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พยายามให้นักศึกษาทุกคนเข้าใจเนื้อหา ยกตัวอย่างที่เห็นจริงรอบตัว

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธที่ 20 มกราคม  2559

ความรู้ที่ได้รับ

 เริ่มด้วยการแบ่งกระดาษยังไงให้ได้เท่าๆกันสี่ส่วนซึ่งเราเลือกที่จะแบ่งแบบแนวตั้งโดยพับครึ่งและพับครึ่งอีกที  การแบ่งกระดาษไม่จำเป็นต้องแบ่งแค่แนวตั้งอาจจะเป็นแนวนอนก็ได้

-  ให้เด็กได้เลือกวิธีการแบ่งกระดาษด้วยตัวเองไม่มีถูกผิด
-  คำขวัญวันครู
             อนาคตก้าวไกล  ด้วยครูดี  มีคุณภาพ 
-  คุณธรรมของครูต้องเป็นครูที่มีคุณภาพ
-  แบ่งกระดาษตามแนวตั้งออกเป็นสี่ส่วนแล้วเขียนชื่อตัวเองลงไป ออกแบบชื่อให้ลงตัวกับพื้นที่ๆมีอยู่
ซึ่งหากเราเขียนตัวเล็กหรือเขียนชิดเกินไปจะทำให้มองเห็นยากและดูองค์ประกอบรอบข้างไม่ลงตัว
-  การวางเรียนกระดาษควรวางเรียงเป็นแถวตามแนวของกระดาษจะได้ง่ายต่อการนับ

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
  • จำนวนและการดำเนินการ
  • การวัด
  • เรขาคณิต
  • พีชคณิต
  • การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
>> เด็กมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนขึ้นไปเรียนปฐม <<
เพราะเด็กมีพัฒนาการจึงแสดงพฤติกรรมออกมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
  1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์  เช่น  จำนวนนับ,การแยกกลุ่มการรวมกลุ่ม,รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
  2. มีความรู้เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงินและเวลา
  3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต  เช่น  รู้จักรูปทรงเรขาคณิตสองมิติ/สามมิติ,ทิศทาง,ระยะทาง
  4. มีความรู้ ความเข้าใจรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
  5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
  6. มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
สรุปบทความ
       -  คณิตศาสตร์มีเนื้อหาการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
       -  มีการทบทวนการจัดการเรียนรู้/เนื้อหา/เริ่มสอนเนื้อหาใหม่/สรุปสาระสำคัญ/ฝึกทักษะ/ประเมิน/นำไปใช้
       -  ให้เด็กได้ร่วมคิด คำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็ก
       -  สถานที่มีทั้งในและนอกห้องเรียน บนความเชื่อที่ว่าคณิตศาสตร์อยู่ในชีวิตประจำวัน

สรุปวิจัย
       -  ใช้กลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 3-5 ปี   เวลาในการดำเนินการ 8 สัปดาห์
       -  ประเมินทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
       -  ใช้กิจกรรมการสานโดยในสัปดาห์แรกเด็กๆรู้สึกว่าทำยาก  แต่เมื่อสัปดาห์ที่สองเด็กๆรู้สึกว่ามันง่ายขึ้น
       -  เด็กมีทักษะที่เพิ่มขึ้นจากเดิมในระดับพอใช้เป็นระดับที่ดี

สรุปสื่อ/วิดิโอ
       -  กิจกรรมคณิตศาสตร์ใช้ธรรมชาติรอบตัวบูรณาการกับกิจกรรม 6 หลัก
       -  ตัวอย่างกิจกรรมมี ปูมี 8 ขา / ต้นไม้ใกล้ตัว / ใบไม้แสนสวย / มุมคณิต / เกมกระต่ายเก็บของ
       -  สอดแทรกเทคนิคการสอนและดูความต้องการของเด็ก

ทักษะที่ได้รับ
-  ทักษะการพับกระดาษให้มีขนาดเท่าๆกัน
-  ทักษะการคิดและการแก้ไขปัญหา

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เมื่อเรารู้ถึงสาระการเรียนรู้และมาตรฐานของคณิตศาสตร์เราก็นำความรู้นี้ไปจัดการเรียนการสอน กิจกรรมการเสริมประสบการณ์ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กเพื่อให้เป็นพื้นฐานก่อนขึ้นเรียนชั้นประถม

เทคนิคการสอน
-  ให้นักศึกษาเลือกวิธีการแบ่งกระดาษด้วยตัวเอง  เรียนรู้ไปพร้อมกับการลงมือกระทำ
-  ให้นักศึกษาได้ตีโจทย์ที่ครูให้มาเพื่อเป็นการเรียนรู้ความเข้าใจโจทย์
-  สอดแทรกคุณธรรมการเป็นครูที่ดีมีคุณภาพ

การประเมินผล
ประเมินตัวเอง : มีความสนใจการตอบคำถามและวิเคราะห์โจทย์ที่ครูให้แต่ไม่มั่นใจที่จะทำอย่างเต็มที่เพราะกลัวผิด
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความสนใจกับการเรียนบางคนยังแบ่งกระดาษผิดทิศทาง 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอดแทรกคุณธรรมทำให้เราอยากเป็นครูที่ดีมีคุณภาพ  สอนเด็กโดยไม่ใช้อารมณ์

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

งานวิจัย

ชื่อวิจัย  ผลของการจัดกิจกรรมหลักการฟังนิทานโดยเล่าเรื่องนิทานในรูปแบบการวาดแผนที่แบบเป็นกลุ่มและรายบุคคลที่มีต่อทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดย  วิรัตน์  กรองสอาด  คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

                    ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เด็กจะเรียนรู้ด้วยความเข้าใจและคิดหาเหตุผลไม่ใช่การเรียนด้วยการท่องจำ เด็กจะต้องมีความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนเด็กจึงจะสามารถเรียนในขั้นที่สูงขึ้นไปได้  ดังนั้นคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นมากกว่าวิชาคิดคำนวณซึ่งทักษะต่างๆจะสอดแทรกในกิจกรรมที่ครูจัดให้เด็กตามตารางกิจกรรมประจำวัน
                    การเล่านิทานให้เด็กฟังของครูนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัยการทำกิจกรรมหลังฟังนิทานโดยการวาดแผนที่เป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม คือเด็กได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพราะกิจกรรมวาดแผนที่เด็กต้องใช้ทักษะการสังเกตเพื่อเปรียบเทียบและจำแนก  เพื่อบอกตำแหน่งและใช้การคิดอย่างเป็นระบบต่อการเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง นับว่าสอดคล้องกับหลักการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ว่า จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและเกิดความรู้ไปด้วย

                   เริ่มการทดสอบโดยการเล่านิทานที่แฝงไปด้วยพื้นฐานของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น รูปทรง ตัวเลข ขนาด  โดยคุณครูได้เปลี่ยนเรื่องเล่าในแต่ละวัน  เมื่อครบวันที่กำหนดในการเล่านิทานคุณครูก็นำแบบทดสอบความรู้ทางคณิตศาสตร์มาให้เด็กๆได้ลองทำ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือเด็กอายุ 5-6 ปี โดยชุดแรกของการทดสอบคือการนำรูปภาพ 3 รูปมาเรียงต่อกันซึ่งแต่ละรูปจะมีขนาดที่ต่างกันแล้วครูก็ให้โจทย์นักเรียนโดยบอกว่า " เด็กๆช่วยกากบาททับรูปที่เล็กที่สุดให้ครูหน่อยค่ะ " ชุดต่อมาเป็นการทดสอบขนาด ความยาว สูงต่ำ  โดยคุณครูบอกเด็กๆว่า " ให้เด็กๆช่วยกากบาททับรูปบ้านที่สูงที่สุดให้คุณครูหน่อยค่ะ "  อีกชุดคือการทดสอบความแตกต่างของภาพที่เห็นโดยให้เด็กๆเลือกกากบาทสิ่งที่ต่างออกไปจากเพื่อน

                   งานวิจัยเรื่องนี้นำเอานิทานสิ่งใกล้ตัวเด็กและสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กมาใช้สอนได้อย่างถูกวิธี เช่น เรื่องลูกหมาสิบตัวก็สอดแทรกจำนวนนับทั้งสิบทำให้ง่ายต่อการจดจำและการเรียนรู้ของเด็ก  ทำให้เขาเข้าใจ เข้าถึงพื้นฐานของคณิตศาสตร์ได้ง่ายและครบถ้วน อีกทั้งให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนานและเกิดความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย  การใช้นิทานสามารถทดสอบความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดีเพราะเด็กได้เรียนรู้ทั้งรูปทรงเรขาคณิต จำนวนนับ  การใช้เหตุผล  การเรียงลำดับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน  ขนาด ระยะทาง ซึ่งเป็นการสอนพื้นฐานคณิตศาสตร์สอดแทรกได้อย่างง่ายเลยทีเดียว

วิดิโอสื่อการสอน

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัย

              วิดิโอเป็นวิโอเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์แบบใช้สัญลักษณ์ เริ่มจากการนับจำนวน 1-10 อย่างง่าย  จากนั้นก็เริ่มการบวกเลขจากจำนวนน้อยๆและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้สัญลักษณ์รูปส้มหนึ่งผลแทนหนึ่งจำนวน
                     เช่น       ส้มหนึ่งผล + ส้มหนึ่งผล = เท่าไหร่
                      คือ                       1 +  1  =  ?


              การเรียนแบบใช้สัญลักษณ์ทำให้เด็กเข้าใจง่ายและสนใจการเรียนมากขึ้นเพราะทำให้เขาดูแล้วไม่ยากจนเกินความสามารถของเขา อีกทั้งการนำส้มหรือสิ่งอื่นๆมาใช้แทนตัวเลขยังสามารถประยุกต์บูรณาการการเรียนการสอนได้อีกหลายวิชาด้วย

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

บทความ

คณิตศาสตร์ปฐมวัย ลูกๆเรียนอะไรกัน?

                  คณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิด  ทำให้เราคิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผนและการคิดอย่างสร้างสรรค์  สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่เริ่มต้นการเรียนรู้ ช่างสังเกตและชอบสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวการส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจคณิตศาสตร์ไม่เพียงส่งผลให้ประสบความสำเร็จแค่ในวิชาคณิตศาสตร์เท่านั้นแต่ส่งผลถึงศาสตร์อื่นๆด้วย

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์? 
                  เด็กปฐมวัยทุกคนควรได้เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ก่อนขึ้นเรียนในชั้นประถม ซึ่งสาระหลักที่จำเป็นต่อเด็กปฐมวัย ได้แก่ จำนวน การแยกกลุ่ม การวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา เรขาคณิต ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล และการสื่อสาร
                  ทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( สสวท. ) ได้กำหนดคุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงอายุว่าควรมีความซับซ้อนแตกต่างกันดังนี้

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี
-  มีความรู้ความเข้าใจเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
-  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก  ปริมาตร และเวลา  เช่น  สามารถบอกได้ว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน
-  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบอกตำแหน่ง รูปทรง

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี
-  มีความรู้ความเข้าใจเชิงจำนวนเกี่ยวกับการนับไม่เกินสิบและเข้าใจการรวมกลุ่ม การแยกกลุ่ม
-  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับได้
-  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง  สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง จำแนกรูปทรงได้และนำรูปทรงต่างๆมาสร้างสรรค์งานศิลปะได้  สามารถเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีความสัมพันธ์กัน

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี
-  มีความรู้ความเข้าใจเชิงจำนวนเกี่ยวกับการนับไม่เกินยี่สิบและเข้าใจการรวมกลุ่ม การแยกกลุ่ม
-  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ได้  เข้าใจเกี่ยวกับจำนวนของเงิน
-  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง  ทิศทางและระยะทางสามารถใช้คำบอกตำแหน่งทิศทางระยางทาง สามารถจำแนกรูปทรงเรขาคณิตได้  สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ คลี่และสร้างงานศิลปะแบบสองมิต สามมิติได้
-  มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
-  มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

                    ส่วนเทคนิคจูงใจให้เด็กสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งที่ท้าทายด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กเกิดความสนุกและสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไปด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.tinyzone.tv/HealthDetail.aspx?ctpostid=5128




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 13 มกราคม 2559


              บรรยากาศของวันนี้เต็มไปด้วยความเป็นกันเองเพื่อนเริ่มกล้าที่ตอบคำถามของอาจารย์กันมากขึ้น และอาจารย์ก็มีการเช็คชื่อของนักศึกษาด้วยกระดาษจากอาทิตย์ที่แล้วส่วนคนที่ไม่ได้มาอาจารย์ให้บอกเหตุผลว่าทำไมถึงไม่เข้าเรียนในชั่วโมงแรก อธิบายถึงการครองตนของเรา

ความรู้ที่ได้รับ

  โจทย์ของวันนี้ คือ คณิตศาสตร์คืออะไร? 
               คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวของเราแฝงตัวอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเราจะทำอะไร ที่ไหนคณิตศาสตร์จะแฝงอยู่ในนั้นเสมอ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือเหมือนกับภาษา
               คณิตศาสตร์ คือ การคิดคำนวณในชีวิตประจำวันที่มีองค์ประกอบ เช่น  การชั่งน้ำหนัก  รายรับ-รายจ่าย  ภาษีเงินได้  จำนวนหุ้น  น้ำหนัก-ส่วนสูง และอื่นๆอีกมากมาย

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   สามารถแบ่งออกได้ 3 หัวข้อใหญ่ๆดังนี้
                  1.  การจัดประสบการณ์
                           -  หลักสูตร                               -  หลักการ
                           -  แนวทาง                                -  แผนการจัดประสบการณ์
                           -  สื่อคณิตศาสตร์
                  2.  คณิตศาสตร์
                          -  ความหมาย                             -  ประโยชน์
                          -  ความสำคัญ                            -  สาระ
                          -  ทักษะ
                 3.  เด็กปฐมวัย
                         -  ความหมาย                             -  พัฒนาการ
                         -  การเรียนรู้

ทักษะที่ได้รับ
             - การหยิบกระดาษไว้ที่ตัวเองหนึ่งแผ่นเลือกแผ่นที่มีด้านว่าง และที่เหลือส่งให้เพื่อน
             - การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล หาคำตอบให้ตนเอง
             - ทักษะการเขียนแผนผังความคิด

การนำมาประยุกต์ใช้
               การเรียนวันนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การคิดรายรับรายจ่าย  การคำนวณการใช้จ่ายส่วนเกินของเราและการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

เทคนิคการสอน
               - การตั้งคำถามปลายเปิด
               - ให้เหตุและผลที่สอดคล้องกัน  สอดแทรกเรื่องคุณธรรม
               - ระดมความคิดเพื่อนำมารวบยอดเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
               - ทำแผนผังความคิดที่สั้นกระชับและเข้าใจง่าย

การประเมินผล
ประเมินตนเอง      มีความกระตือรือร้นสนใจเรียนเพราะ มีการถามตอบตลอดเวลา
ประเมินเพื่อน       เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตอบคำถามและช่วยกันระดมความคิด
ประเมินอาจารย์   อาจารย์กระตุ้มให้นักศึกษาได้ฝึกคิดอย่างมีเหตุผลและสอดแทรกคุณธรรมให้ด้วย                                    ทำให้ไม่เกิดความเครียด มีมุขตลกและแต่งกายเรียนร้อย



วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพุธที่ 6 มกราคม 2559

             การเรียนของวันนี้เป็นชั่วแรกของเทอมการศึกษาทุกคนต่างลุ้นว่าเนื้อหาวิชาจะยากไหม หลังจากที่อาจารย์ได้เข้ามาพูดคุยก็ได้ให้แบ่งกระดาษหนึ่งแผ่นต่อสามคนเมื่อแบ่งเสร็จอาจารย์ก็ให้ทุกคนเขียนลักษณะเด่นของตัวเองที่คิดว่าอาจารย์จะจำได้และเขียนชื่อจังหวัดด้วย  ทุกคนส่งกระดาษที่เขียนเสร็จให้อาจารย์ช่วงที่อาจารย์ทายตัวตนของแต่ละคนสร้างเสียงหัวเราะในห้องขึ้นมากทำให้ทุกคนคลายความเครียดลงกว่าตอนแรก ซึ่งวันนี้ได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถามเรื่องกระดาษที่แจกด้วย

ความรู้ที่ได้รับ

-  เทคนิคการแบ่งกระดาษที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
-  แหล่งค้นคว้างานวิจัย บทความ และสื่อต่างๆ
-  แนวทางการทำแฟ้มสะสมผลงานและการออกแบบ
-  การสรุปใจความสำคัญของงานวิจัย
-  ความรู้คร่าวๆเกี่ยวกับวิชา

ทักษะที่ได้รับ

-  การแจกกระดาษตอนต้นคาบที่สามารถทำได้หลายวิธีและประหยัดเวลา
-  ทักษะการใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อประกอบการเรียน
-  ทักษะการคิดประเด็นของปัญหา
-  ทักษะการเขียนเพื่อสรุปงานวิจัย
-  ทักษะการออกแบบแฟ้มสะสมผลงานให้ครอบคลุมเนื้อหา

การนำมาประยุกต์ใช้

             การเรียนวันนี้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการค้นคว้างานที่เกี่ยวข้องกับวิชาและการสรุปประเด็นที่น่าสนใจของงานวิจัย อีกทั้งการออกแบบแฟ้มสะสมผลงานยังสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับแฟ้มของเราเองได้ด้วย

เทคนิคการสอน

             อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ทำให้เด็กไม่เบื่อ  เช่น  วิธีการจดจำเด้กที่ไม่เหมือนใคร  การสอนที่ให้ลงมือทำ มีคำถามหลังปฏิบัติ  ทุกคนสามารถตอบคำถามได้เมื่อตอบผิดก็ชี้แจงสิ่งที่ถูกให้และมีความใกล้ชิดกับนักศึกษาทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย



                           การประเมินผล

ประเมินตนเอง
             วันนี้เป็นวันแรกของคาบเรียนและรู้สึกกังวลใจเพราะไม่ค่อยชอบวิชาคณิตศาสตร์เท่าไหร่ แต่เมื่ออาจารย์มีกิจกรรมหรือคำถามเราก็มีส่วนร่วมที่จะตอบและจดเนื้อหาความรู้ รายละเอียดของงานที่ได้ในวันนี้ด้วย
ประเมินเพื่อน
             เพื่อนๆทุกคนแต่งกายเรียบร้อยและสนใจต่อการเรียนในคาบแรกดี ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามและการทำกิจกรรมในห้อง
ประเมินอาจารย์
            อาจารย์มีเทคนิคที่ทำให้เด็กมีความผ่อนคลายในการเรียนคาบแรกและมีเทคนิคในการจำชื่อเด็กที่ไม่เหมือนใครและเปิดโอกาสให้เด็กได้ถามคำถาม